Skip to main content

การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ( EQ )

การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ( EQ )

. (ต้องออกตัวว่า บล็อกช่วงต้นในช่วงเช้า ผู้เขียนได้บันทึกไปด้วยในระหว่างเรียน จะได้เนื้อหาความรู้ที่สดใหม่ และเป็น wording จากคำสอนของอาจารย์เลย แต่เสียใจมากว่าบล๊อกมันหายไป T_T อาจเกิดจากการแก้ไขจากเครื่องมือถือของผู้เขียนเอง ตอนนั่งรถมาทำงานเมื่อเช้า T_T เป็นเหตุให้ต้องมานั่งทบทวนและเขียนใหม่ในวันนี้ ถือเป็นการทบทวน Restudy อีกครั้งละกันค่ะ)
.
บรรยายให้ความรู้โดยท่านอาจารย์สมพร  อินทร์แก้ว นักจิตวิทยาคลินิกเชี่ยวชาญ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
.

อาจารย์เริ่มต้นด้วยการให้ความหมายของคำว่า EQ Emotinal Quotient ที่แปลได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เชาวน์อารมณ์ อัจฉริยะทางอารมณ์  ความสามารถทางอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์
.
จริงๆ แล้วนั้นความฉลาดของคนเรามีหลายมิติด้วยกัน  ต่ามภาพเลยค่ะ...

  • IQ: Intelligent Quotient >>เป็นเรื่องของระดับความฉลาดของสมอง (มาจากพันธุกรรม 80% อีก 20% เป็นสภาพแวดล้อมที่จะเติมเต็มไอคิวที่มาจากพันธุกรรม 100% เช่น พันธุกรรมไอคิวอยู่ที่ 120 เด็กที่เกิดมาแน่นอนจะมีไอคิวที่ 96 และจัดสิ่งแวดล้อมให้ดีก็จะพัฒนาได้ถึง 120 แต่จะไม่เกินนี้ อาจจะขัดกับบางทฤษฏีนะคะ แต่อาจารย์บรรยายไว้ตามนี้)
  • EQ: Emotional Quotient >>เป็นเรื่องของความฉลาดทางอารมณ์ การควบคุมตนเอง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • AQ: Adverity Quotient >>เป็นเรื่องของความสามารถในการแก้ปัญหา ฝ่าฝันอุปสรรค อุปมาอุปมัยได้กับ "การกัดไม่ปล่อย" (ไม่ใช่กัดแล้วปล่อย หรือเห่าแล้วไม่กัด)
  • MQ: Moral Quotient >>เป็นเรื่องของศีลธรรมความดีงาม การควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัย กฎระเบียบของสังคม
  • SQ: Spiritual Quotien >>เป็นเรื่องของความฉลาดทางจิตวิญญาณ ในการพัฒนาจิตใจให้สุข สงบ รับกับความเปลี่ยนแปลง
.
มีงานวิจัยเมื่อปี 1950 วิจัยผู้เรียนปริญญาเอก จำนวน 80 คน และ 40 ปีต่อจากนั้นพบว่าผู้ที่มีทักษะทางสังคมที่ดีมีผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในเด็กอายุ 4 ขวบ กับขนมหวาน เทียบกับเด็กที่ไม่สามารถรอคอยได้หยิบขนมกินเลย 1 ชิ้น กับเด็กที่รออีก 20 นาที เพื่อจะได้กินขนม 2 ชิ้น 10ปีผ่านไป พบว่าเด็กกลุ่มที่รอคอยได้มีผลการเรียนที่สูงกว่า และมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า

จะเห็นได้ว่าความฉลาดทางอารมณ์เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นอย่างมาก
โดยสรุปจากภาพคือ
IQ: เป็นค่าตัวเลข ผลจากการประเมิน ไม่สามารถทำนายความสำเร็จในการศึกษาการทำงานและความสำเร็จในชีวิต พัฒนาไปจนถึงอายุ 25 ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
EQ: เป็นค่าตัวเลข ผลจากการประเมิน สามารถทำนายความสำเร็จในการศึกษาการทำงานและความสำเร็จในชีวิต พัฒนาได้ตลอดชีวิต ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
.
** IQ จะพัฒนาได้ถึงแค่อายุ 25 ปี และจากนั้นจะเสื้อมไปเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น
.

บุคคลที่ก้าวไกลในงาน

  1. พร้อมที่จะแก้ปัญหา
  2. ทำงานนอกเหนือขอบเขตงานที่กำหนดไว้
  3. ไม่หยุดนิ่ง กล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ ๆ 
  4. ผลงานมีคุณภาพมากกว่าที่คาดหวัง
  5. เชื่อมั่นและพร้อมจะเรียนรู้
  6. ทุ่มเทกับงานใหญ่ที่ได้รับมอบหมาย
  7. พูดสั้น ๆ ตรงไปตรงมาและตรงจุด 
  8. มีแนวคิดและมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ดีและสร้างสรรค์
  9. มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา

EQ กับการทำงาน

  1. ความสุข
  2. ความสำเร็จ
  3. ความประทับใจ

คุณภาพการบริการ  จะต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐาน >>ตามมาตรฐานวิชาชีพ >>มากกว่าที่คาดหวัง >>เกิดความประทับใจ

องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ มี 3 ส่วน

ด้านบุคคล:  คุณธรรม  ซื่อสัตย์  รับผิดชอบ  ภาคภูมิใจ
ด้านอารมณ์: รับรู้และเข้าใจอารมณ์ตน  อดทนต่อแรงกดดัน  คลี่คลายอารมณ์ตนได้
ด้านสังคม: มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น  รู้จักให้รู้จักรับ  ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น  เข้าใจยอมรับความรู้สึกผู้อื่น
.
จากนั้นอาจารย์ให้ทำแบบประเมิน EQ ค่ะ ของผู้เขียนตามนี้เลย ... ^_^




.
สังเกตจากเมื่อทำแบบประเมินแล้ว จะได้กราฟความฉลาดทางอารมณ์ หากพอทกราฟแล้วอยู่ในพื้นที่สีเข้ม แสดงว่าปกติเหมือนคนทั่วไป ถ้าอยู่ในพื้นที่สีขาวด้านซ้าย แสดงว่าเป็นสัญญาณเตือนเราว่าเรามีประเด็นตามข้อต่างๆ นั้นต่ำไปหรือไม่ ต้องทบทวนปรับปรุง   หากอยู่ในพื้นที่สีขาวด้านขวา ต้องมาเช็คตนเองว่าเราโอเคมั้ย (คืออาจเป็นคนดีเกินไปรึเปล่า หรือโอเคแล้ว) ประมาณนี้ค่ะ
.
จากผลการประเมิน ก็แสดงว่า ผู้เขียนมีความฉลาดทางอารมณ์พอใช้ได้นะคะเนี่ย อิอิ ^_^

หากท่านมีความฉลาดทางอารมณ์ ท่านจะมี...

“ความสามารถทางอารมณ์ ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข”

EQ = ดี + เก่ง + สุข

ดี ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง เห็นใจผู้อื่น รับผิดชอบเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
เก่ง รู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง มุ่งมั่น ตัดสินใจแก้ปัญหา ยืดหยุ่น มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น 
สุข ภูมิใจในตนเอง  พึงพอใจในชีวิต มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน มีความสงบทางใจ รู้จักผ่อนคลาย มีกิจกรรมสร้างความสุข
.


(หมายเหตุ: เพิ่งได้ไฟล์สไล์ของอาจารย์มา ก่อนหน้านี้ก็เป็นแบบสดจริงกันไปเลยละกันนะคะ)

ภาวะผู้นำ

มาถึงหัวข้อนี้ อาจารย์ให้ทำแบบประเมินอีกครั้ง เป็นการประเมินภาวะผู้นำ ของผู้เขียนตามนี้เลยค่ะ..


ผลจากแบบประเมินอยู่ใน Range คะแนน 20 - 27 ถือว่ามีความเป็นภาวะผู้นำ นะคร้าาาา... ^_^
(แม้จะมีความลังเลแก้ไขอยู่ 2 ข้อ ตรงที่ลูกน้องมาทำงานสายประจำจะทำอย่างไร ลังเลระหว่าง สอบถาม (เผื่อมีเหตุอะไรจะได้ช่วยเหลือได้ กับไม่สนใจการมาสาย สนใจแค่เรื่องงาน อิอิ)
.

ภาวะผู้นำ

  • ผลผลิตตามเป้าหมายพร้อมไปกับความสุขของคนทำงาน
  • บรรยากาศและวัฒนธรรมการทำงานที่ดี
  • การใช้ศักยภาพสูงสุดของบุคคล

วิถีการนำ

  1. ลูกน้องรู้สึกว่าตัวเองสำคัญ
  2. ส่งเสริมการเรียนรู้และความสามารถในการทำงานของลูกน้อง
  3. สร้างความรุ้สึกให้ลูกน้องรักการทำงานเป็นทีม
  4. ดึงให้คนทำงานอย่างสนุก

วิธีพัฒนา  EQ

  1. เรียนรู้ด้วยตนเอง
  2. เลียนแบบซึมซับ พยายามพาตัวเองไปอยู่ใกล้กับคนคิดบวก มีพลังงานที่ดี
  3. การฝึกอบรม

การจัดการกรับอารมณ์

  1. ตระหนักรู้
  2. หลีกเลี่ยง
  3. ระบาย
  4. ปรับเปลี่ยนความคิด
.
ก่อนจะจบภาคเช้า อาจารย์ปิดท้ายด้วย...

วิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสม

  • เขียนลงไดอารี่  (เป็นวิธีที่ดี ให้เขียนเป็นเหตุการณ์ คนที่เขียนจะมีโอกาสทบทวนสถานการณ์ว่าบางครั้งเราเองก็มีส่วนในเรื่องนั้นๆ ด้วยเช่นกัน)
  • ออกกำลังกาย  (กายนิ่งแต่จิตเคลื่อนไหวไม่ดี ควรทำกายเคลื่อนไหวแต่จิตนิ่ง จะทำให้สงบและเป็นผลดีมากกว่า)
  • ทิ้งขยะในใจ
  • นับเลข / นับลมหายใจ
  • อยู่กับลมหายใจ
  • การฝึกผ่อนคลาย
  • ทบทวนและทำความเข้าใจกับปัญหา
.
.

---
(ต่อเนื่องจากภาคเช้าค่ะ...)


.
ผู้ที่มี EQ ดี จะคิดในเชิงบวกและสร้างสรรค์มาก คือสวมหมวกสีเหลือง สีเขียว ในสัดส่วนที่มากกว่า แต่ต้องมียึดติดหมวกสีใดสีหนึ่งมากเกินไป ต้องมีความยืดหยุ่นหลากหลาย ตามสถานการณ์
การคิดเป็น คือต้องวิเคราะห์เวที(สถานการณ์) แล้วสวมหมากให้ถูกต้อง
.
การที่เป็นคนมีธรรมชาติคิดบวก จะพูดแบบมีเงื่อนที่เป็นสถานการณ์ชั่วคราว ไม่ใช่ถาวร เช่น ทำข้อสอบไม่ได้เพราะเรียนไม่ทัน ไม่ใช่ ทำข้อสอบไม่ได้เพราะหัวไม่ดี
เวลาที่ใครทำดี จะมีความสามารถในการสรรหาคำพูดที่เกื้อกูล และคนฟังมีควาามรู้สึกอยากทำต่อไป
.
การคิดเชิงลบ มีแต่ผลเสีย ไม่มีผลดี
คิดให้ใจเป็นสุขโดย... คิดมุมกลับ คิดหลายมุม คิดแง่ดี  คิดให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง คิดเรื่องปัจจุบัน(ไม่คิดแก้อดีต) คิดอย่างเมตตาต่อตนเองและผู้อื่น
.
ภาษิตจีน บอกว่า "70% เป็นเรื่องของความสามารถ 30% โชคชะตาฟ้าลิขิต"
ดังนั้นนำเสนอความก้าวหน้างานอย่างต่อเนื่อง" ต้อง work smart not work hard
.

หลักคิดเพื่อชีวิตเป็นสุข  

"อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่"

"ทุกเรื่องที่ผ่านมาในขีวิตล้วนเป็นเรื่องเล็ก"

"อย่าทุ่มเทกับความทุกข์ อย่าติดยึดกับความสุข"

"ไม่มีสถานใดที่ทำร้ายเรา นอกจากความคิดของเราต่อสถานการณ์นั้น ที่ทำร้ายตัวเราเอง

.
คิดบวก VS โลกสวย (พูดให้ดูดีเป็นบวก แต่ในใจยังยึดติดกับสิ่งลบ)
.
ต่อจากนี้อาจารย์บรรยายให้ความรู้เรื่อง "การพัฒนาการสื่อสารระหว่างบุคคล"
ตามอ่านในบล๊อกต่อไปนะคะ...
(เป็นประโยชน์กับงาน IS ที่ผู้เขียนกำลังจะทำด้วยล่ะ ดีงามค่ะ)

//แม้ว่าการบรรยายของอาจารย์วิทยากรจะไม่หวือหวา แต่ก็ชวนฟัง เพราะท่านมีเทคนิคการเล่าเรื่องราวสอดแทรกระหว่างการบรรยายเชื่อมโยงกับหัวข้อ ลิ้งค์กับชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงานของผู้เข้ารับการพัฒนาฯ ได้อย่างกลมกล่อม สร้างเสียงหัวเรา และบรรยากาศที่เป็นกันเองได้เป็นอย่างดี

***ใครอยากดูสไลน์บรรยายของท่านอาจารย์สมพร อินทร์แก้ว ฉบับเต็ม คลิกตรงนี้เลยนะคะ ^_^


//ผู้เขียนบันทึกบล็อกนี้เพื่อประโยชน์ในการทบทวนบทเรียน ผิดพลาดประการใด หรือเนื้อหาบางส่วนไปพาดพิงใคร ต้องขออภัยด้วยนะคะ (น้อมรับทุกความคิดเห็นค่ะ) 🙏🙏🙏

Comments

Popular posts from this blog

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership)

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) โดยดร.รังสรรค์ มณีเล็ก วิทยากรกล่าวทักทายผู้เข้ารับการพัฒนาอย่างเป็นกันเอง และเกริ่นว่าคุ้นหน้าคุ้นตากับผู้เข้ารับการพัฒนาหลายคน ขอบเขตที่จะศึกษาวันนี้ ความหมาย ความสำคัญ ลักษณะของผู้นำ พฤติกรรมของผู้นำ การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ วิทยากรกล่าวถึงการทำงานแบบ World Wild การลงทุนระหว่างประเทศ  เปรียบเทียบรายได้ระหว่าง Jordan 1 ปี(พรีเซ็นเตอร์ของไนกี้) กับ Labour 4หมื่นกว่าปี (คนงานผลิตรองเท้าในโรงงานไนกี้) ความหมาย ผู้บริหาร รักษาความมั่นคงและทำให้หน่วยงานดำเนินงานไปด้วยความราบรื่น ผู้นำ สร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ภาวะผู้นำ ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับการชี้นำที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามที่ต้องการ *ผู้นำที่ดี คือผู้ที่มีผู้อยากจะเดินตาม ลูกน้องอยากจะเดินตาม (คำพูดของท่านอนันต์ ปัญญารชุน) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีนักวิชาการชาวต่างชาติให้ความหมายไว้ว่า คือ "ความสามารถของผู้นำที่จะโน้มน้าว จูงใจให้สมาชิกในองค์การเต็มใจที่จะมุ่งมั้นในการสร้างความสำเร็จตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างเต็มศัก...

การพัฒนาบุคลิกภาพกับความเป็นผู้นำ

การพัฒนาบุคลิกภาพ โดย ดร.สรัสวดี  มุสิกบุตร (อ.ดร.อ้อม อาจารย์ประจำสถาบัน ฯ) ครูอ้อมออกตัวว่าเป็นผู้ศรัทธาในการฝึกอบรม เพราะครูอ้อมเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จากการฝึกอบรม . บุคลิกภาพสำคัญคือการฝึกฝน บุคลิกภาพมีทั้งบุคลิกภาพภายในและภายนอก บุคลิกภาพ Personality มาจาก Persona ภาษาละติน ที่แปลว่าหน้ากาก "ให้หัดสวมหน้ากากแห่งความดี" วิเคราะห์ตัวเอง ตัวเรามีข้ออยากพัฒนาเรื่องบุคลิกภาพเรื่องอะไร (กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา) - ความมั่นใจในพูดต่อหน้าชุมชน - การแสดงอารมณ์ - การเคลื่อนไหว การถือไมโครโฟน ถือในแนวดิ่ง อยู่ใต้คาง แขนแนวลำตัวสบาย ๆ "ให้หัดสวมหน้ากากแห่งความดี" ถ้าอยู่ในที่สาธารณะ ให้อมยิ้มไว้ วิธีการคือ คิดดี ๆ คิดถึงแต่เรื่องที่ดี ๆ เป็นบุคลิกภาพภายใน ให้คิดว่าเราหล่อ และ สวยที่สุดในโลกใบนี้ ให้มีความมั่นใจในตัวเองที่จะแสดงออก . สิ่งสำคัญในกระบวนการพัฒนาตัวเอง เห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ ต้องมีความต้องการในตนเอง เห็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เริ่มวิเคราะห์ตนเองว่าสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนา เรียงลำดับความสำคัญ ศึกษาหาข้อมูลในการพัฒนาบุคลิ...