Skip to main content

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership)

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership)

โดยดร.รังสรรค์ มณีเล็ก
วิทยากรกล่าวทักทายผู้เข้ารับการพัฒนาอย่างเป็นกันเอง และเกริ่นว่าคุ้นหน้าคุ้นตากับผู้เข้ารับการพัฒนาหลายคน

ขอบเขตที่จะศึกษาวันนี้

  • ความหมาย ความสำคัญ
  • ลักษณะของผู้นำ
  • พฤติกรรมของผู้นำ
  • การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
วิทยากรกล่าวถึงการทำงานแบบ World Wild การลงทุนระหว่างประเทศ 

เปรียบเทียบรายได้ระหว่าง Jordan 1 ปี(พรีเซ็นเตอร์ของไนกี้) กับ Labour 4หมื่นกว่าปี (คนงานผลิตรองเท้าในโรงงานไนกี้)

ความหมาย

  • ผู้บริหาร รักษาความมั่นคงและทำให้หน่วยงานดำเนินงานไปด้วยความราบรื่น
  • ผู้นำ สร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
  • ภาวะผู้นำ ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับการชี้นำที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามที่ต้องการ
*ผู้นำที่ดี คือผู้ที่มีผู้อยากจะเดินตาม ลูกน้องอยากจะเดินตาม (คำพูดของท่านอนันต์ ปัญญารชุน)

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
มีนักวิชาการชาวต่างชาติให้ความหมายไว้ว่า คือ "ความสามารถของผู้นำที่จะโน้มน้าว จูงใจให้สมาชิกในองค์การเต็มใจที่จะมุ่งมั้นในการสร้างความสำเร็จตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างเต็มศักยภาพโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด" (ประโยชน์สุด ประหยัดสุด)

"ความสามารถในการคาดการณ์ มีมุมมองกว้างไกล มีความยืดหยุ่น เพื่อทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย"

และอีกหลายความหมายในทำนองเดียวกัน

องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (ของ Dubrin)

  • เป็นความคิดระดับสูง
  • กำหนดวิสัยทัศน์
  • คาดหวังอนาคต
  • กลยุทธ์
  • คิดเชิงปฏิวัติ
จากนั้นวิทยากรก็ได้ยกองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ตามแนวคิดของนักวิชาการชาวต่างประเทศอีก 2-3 ราย เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ผู้นำ กับ ผู้นำเชิงกลยุทธ์ 
มีความต่างกันตรงที่ ผู้นำเชิงกลยุทธ์ จะเห็นภาพความสำเร็จในอนาคตชัดเจนมาก
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์  มีความสำคัญ เพราะจะนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าประสงค์

ลักษณะของผู้นำที่ดี

  • นำผู้อื่นได้ดี/มีภาวะผู้นำ
  • สร้าง/รักษาความสัมพันธ์
  • จัดการความเปลี่ยนแปลง
  • ทำงานแบบมีส่วนร่วม
  • รอบรู้ในงานที่ทำ
  • ตัดสินใจถูกต้อง
  • มีความมุ่งมั่น
  • บุคลิกภาพดี

บุคลิกภาพที่ดึงดูดใจ (Charisma)

  • มีวิสัยทัศน์🙋
  • เชื่อมั่นในตนเอง🙋
  • ยึดมั่นในจริยธรรม🙋
  • มีทักษะการสื่อสาร🙋
  • สร้างแรงบันดาลใจ🙋
  • ขัดแย้งในตนเองต่ำ
  • กล้าเสื่ยง🙋
  • มีพลังในตนเอง🙋
  • เสริมพลังอำนาจผู้อื่น🙋
  • นำเสนอตนเอง

สมรรถนะของผู้นำ (Leader Competencies)


  • ความรู้ Cognitive domain (พุทธพิสัย)
  • ความดีงาม Effective domain (จิตพิสัย)
  • ความชำนาญ Psycho motor domain (ทักษะพิสัย)

💥💥💥ข้อมูลที่น่าสนใจ มีการทำศึกษาผู้นำจำนวน 6,000 คน
พบว่ามีเพียง 8% เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ เป็นเพศหญิง  และมีอายุ 45ปีขึ้นไป

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ

  • การเรียนแบบเป็นทางการ >>ทุนการศึกษา อบรม สัมมนา
  • การใช้กิจกรรมพัฒนา >>มอบหมายงาน ทำงานเป็นกลุ่ม หมุนเวียนงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรณีศึกษา บทบาทสมมุติ
  • การพัฒนาตน >>เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนจากอุปกรณ์ช่วยสอน
การบรรยายต่อจากนี้เป็นเนื้อหาที่ท่านวิทยากรกรุณาแจกเอกสารประกอบการบรรยายเป็นพาวเวอร์พอยท์ ซึ่งมีรายละเอียดเชิงทฤษฏีพอสมควรทีเดียวค่ะ

ผู้เขียนจะขอไฟล์และให้ลิงค์ไว้เผื่อว่าสนใจศึกษาเพิ่มเติมค่ะ 😉😉😉

ช่วงท้ายวิทยากรให้ทำแบบประเมินตนเองตามรูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ด้วยความรวดเร็ว นี่เลยจ้าาา👇👇👇

การแปลผลเป็นดังนี้ค่ะ...


เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็แสดงว่าผู้เขียนมีรูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เรียงตามคะแนนตามนี้ค่ะ👇👇👇
  • Change การเปลี่ยนแปลง ในระดับ 5 🙋
  • Controversy with Civility ขัดแย้งอย่างสุภาพ ในระดับ 5 🙋
  • Collaboration ความร่วมมือร่วมใจ ในระดับ 5 🙋
  • Commitment ความยึดมั่นผูกพัน ในระดับ 4.6
  • Citizenship ความเป็นสมาชิกที่ดี ในระดับ 4.3
  • Consciousness of Self ความเข้าใจในตนเอง ในระดับ 4
  • Common Purpose การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ในระดับ 3.6
  • Congruence การกระทำที่สอดคล้องกัน ในระดับ 3 🙀


//ผู้เขียนบันทึกบล็อกนี้ระหว่างเรียน เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ผิดพลาดประการใด หรือบางเนื้อหาบางส่วนไปพาดพิงใคร ต้องขออภัยด้วยนะคะ (น้อมรับทุกความคิดเห็นค่ะ) 🙏🙏🙏

Comments

Popular posts from this blog

การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ( EQ )

การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ( EQ ) . (ต้องออกตัวว่า บล็อกช่วงต้นในช่วงเช้า ผู้เขียนได้บันทึกไปด้วยในระหว่างเรียน จะได้เนื้อหาความรู้ที่สดใหม่ และเป็น wording จากคำสอนของอาจารย์เลย แต่เสียใจมากว่าบล๊อกมันหายไป T_T อาจเกิดจากการแก้ไขจากเครื่องมือถือของผู้เขียนเอง ตอนนั่งรถมาทำงานเมื่อเช้า T_T เป็นเหตุให้ต้องมานั่งทบทวนและเขียนใหม่ในวันนี้ ถือเป็นการทบทวน Restudy อีกครั้งละกันค่ะ) . บรรยายให้ความรู้โดยท่านอาจารย์สมพร  อินทร์แก้ว นักจิตวิทยาคลินิกเชี่ยวชาญ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข . อาจารย์เริ่มต้นด้วยการให้ความหมายของคำว่า EQ Emotinal Quotient ที่แปลได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เชาวน์อารมณ์ อัจฉริยะทางอารมณ์  ความสามารถทางอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์ . จริงๆ แล้วนั้นความฉลาดของคนเรามีหลายมิติด้วยกัน  ต่ามภาพเลยค่ะ... IQ: Intelligent Quotient >>เป็นเรื่องของระดับความฉลาดของสมอง (มาจากพันธุกรรม 80% อีก 20% เป็นสภาพแวดล้อมที่จะเติมเต็มไอคิวที่มาจากพันธุกรรม 100% เช่น พันธุกรรมไอคิวอยู่ที่ 120 เด็กที่เกิดมาแน่นอนจะมีไอคิวที่ 96 และจัดสิ่งแว...

การพัฒนาบุคลิกภาพกับความเป็นผู้นำ

การพัฒนาบุคลิกภาพ โดย ดร.สรัสวดี  มุสิกบุตร (อ.ดร.อ้อม อาจารย์ประจำสถาบัน ฯ) ครูอ้อมออกตัวว่าเป็นผู้ศรัทธาในการฝึกอบรม เพราะครูอ้อมเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จากการฝึกอบรม . บุคลิกภาพสำคัญคือการฝึกฝน บุคลิกภาพมีทั้งบุคลิกภาพภายในและภายนอก บุคลิกภาพ Personality มาจาก Persona ภาษาละติน ที่แปลว่าหน้ากาก "ให้หัดสวมหน้ากากแห่งความดี" วิเคราะห์ตัวเอง ตัวเรามีข้ออยากพัฒนาเรื่องบุคลิกภาพเรื่องอะไร (กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา) - ความมั่นใจในพูดต่อหน้าชุมชน - การแสดงอารมณ์ - การเคลื่อนไหว การถือไมโครโฟน ถือในแนวดิ่ง อยู่ใต้คาง แขนแนวลำตัวสบาย ๆ "ให้หัดสวมหน้ากากแห่งความดี" ถ้าอยู่ในที่สาธารณะ ให้อมยิ้มไว้ วิธีการคือ คิดดี ๆ คิดถึงแต่เรื่องที่ดี ๆ เป็นบุคลิกภาพภายใน ให้คิดว่าเราหล่อ และ สวยที่สุดในโลกใบนี้ ให้มีความมั่นใจในตัวเองที่จะแสดงออก . สิ่งสำคัญในกระบวนการพัฒนาตัวเอง เห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ ต้องมีความต้องการในตนเอง เห็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เริ่มวิเคราะห์ตนเองว่าสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนา เรียงลำดับความสำคัญ ศึกษาหาข้อมูลในการพัฒนาบุคลิ...