Skip to main content

Posts

Showing posts from April, 2019

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership)

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) โดยดร.รังสรรค์ มณีเล็ก วิทยากรกล่าวทักทายผู้เข้ารับการพัฒนาอย่างเป็นกันเอง และเกริ่นว่าคุ้นหน้าคุ้นตากับผู้เข้ารับการพัฒนาหลายคน ขอบเขตที่จะศึกษาวันนี้ ความหมาย ความสำคัญ ลักษณะของผู้นำ พฤติกรรมของผู้นำ การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ วิทยากรกล่าวถึงการทำงานแบบ World Wild การลงทุนระหว่างประเทศ  เปรียบเทียบรายได้ระหว่าง Jordan 1 ปี(พรีเซ็นเตอร์ของไนกี้) กับ Labour 4หมื่นกว่าปี (คนงานผลิตรองเท้าในโรงงานไนกี้) ความหมาย ผู้บริหาร รักษาความมั่นคงและทำให้หน่วยงานดำเนินงานไปด้วยความราบรื่น ผู้นำ สร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ภาวะผู้นำ ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับการชี้นำที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามที่ต้องการ *ผู้นำที่ดี คือผู้ที่มีผู้อยากจะเดินตาม ลูกน้องอยากจะเดินตาม (คำพูดของท่านอนันต์ ปัญญารชุน) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีนักวิชาการชาวต่างชาติให้ความหมายไว้ว่า คือ "ความสามารถของผู้นำที่จะโน้มน้าว จูงใจให้สมาชิกในองค์การเต็มใจที่จะมุ่งมั้นในการสร้างความสำเร็จตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างเต็มศัก...

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปประเทศ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปประเทศ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ของกระทรวงศึกษาธิการ วิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้คือรุ่นพี่ นบก.รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 5 ทั้งสามท่าน ที่ปฏิบัติงานในหน่วย "ป.ย.ป."   “คณะกรรมการบริหารราชแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง” และได้รับแจกเอกสารสำคัญที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติเล่มเล็ก 5 เล่ม และเล่มใหญ่อีก 1 เล่มเลยทีเดียว ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับย่อ คลิกตรงนี้ได้เลยค่ะ ผู้บรรยายได้อธิบายถึง แผนผังการดำเนินงานและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ รวมถึงอธิบายถึงกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ อย่างไรก็ตามมีข้อกำหนดไว้ว่า จะต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์ชาติทุก 5 ปี ดังนั้นในการทำงานของหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ ทุกโครงการจะต้องตอบสนองกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะมีการตรวจสอบจากระบบ AI เนื่องจากถูกบังคับใช้เป็นกฏหมายเรียบร้อยแล้ว 6 ยุทธศาสตร์ มี 23 ประเด็น และมี 15 ประเด็นเร่งด่วน...

การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ให้ความรู้โดย ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์  ศิริบรรณพิทักษ์ เป็นการคิดรูปแบบหนึ่ง เป็นสไตล์การคิดที่มีความสำคัญมากขึ้น ในแวดวงวิชาการมีการสอนเรื่องการคิดมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคิดสร้างสรรค์ และมิติใหม่ คือการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดออกแบบ (Design Thinking) อาจารย์เริ่มด้วยการให้ชมคลิปวิดีโอ คลิปนี้ผู้เขียนเคยดูแล้วเมื่อปีที่แล้ว เพราะเป็นแฟนตัวยงของคุณวิทย์ Start Yourway อยู่แล้ว ซึ่งอาจารย์บอกว่าคลิปนี้เป็นตัวอย่างของการคิดวิพากษ์ = วิจารณ์ สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประเด็นใหญ่คือ ระบบการศึกษาควรจะเป็นอย่างไร ประเด็นย่อยคือ ระบบการศึกษาควรจะสร้างคนให้จบแล้วต้องไปของานทำ หรือ สามารถสร้างงานเองได้ การคิดเชิงวิพากษ์ คือการวิพากษ์ประเด็นที่เป็นวิกฤติ เพื่อให้เกิดทางเลือกมากขั้น เป็นการคิดเชิงวิพากษ์วิจารย์ แต่ไม่ใช่วิพากษ์เพื่อให้เสียหาย  คำถาม: การคิดเชิงวิพากษ์ควรจะจบแบบโต้วาที หรือแบบอื่น จากนั้นอาจารย์ให้ตอบแบบสอบถามชุดแรก     จากนั้นก็มาอ่านผลกันค่ะว่าผู้เข้ารับการพัฒนามีส...

การบริหารความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง

การบริหารความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง วิทยากรวันนี้คือ ท่านสมยศ  สิริบรรณ (คุ้นหน้าท่านมาก ตอนผู้เขียนเข้ามาในห้องเรียน และสวัสดี ท่านก็ทักทายว่า "สวัสดี ดร.ปุ่ม" มานึกได้อีกทีคือเคยร่วมงานกับท่านเมื่อครั้งปรับโครงสร้างองค์กรมูลนิธิ ฯ ใหม่ ๆ มูลนิธิ ฯ เรียนเชิญท่านมาร่วมเป็นคณะทำงาน ฯ ยกร่างระเบียบ และอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน ฯ ในช่วงต้นอีกมากมาย) ท่านเริ่มต้นการบรรยายด้วยการทักทายผู้เข้ารับการพัฒนาอย่างทั่วถึง ท่านเกริ่นว่าก่อนจะพูดจาอะไรก็รู้จักทักทายกันก่อน 😊😊😊 ท่านนำเข้าสู่เนื้อหาการเจรจาต่อรองด้วยการถามคำถามว่า เช้าวันนี้ใครได้มีการเจรจาต่อรองอะไรกับใครบ้างหรือยัง การทำงานในยุคปัจจุบันจากยากกว่าเดิม เนื่องจากมีสื่อหลากหลายช่องทาง ไม่มีความเป็นเอกภาพ การแชร์ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างเสรี หลากหลาย เมื่อการรับข้อมูลหลากหลาย ความคิดก็จะหลากหลาย และความคิดเห็นก็จะหลากหลายไปด้วย ต่อจากนี้วิทยากรเปิดคลิปยูทูป (Youtube) ให้ดูค่ะ 👇👇👇 เมื่อดูแล้ววิทยากรก็ให้วิเคราะห์อย่างนักบริหารความขัดแย้ง เชื่อมโยงความขัดแย้ง วิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้ง ให้ผู้เข้ารับกา...

ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาสู่ประเทศไทย 4.0 Digital Education (3/3) Workshop

ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาสู่ประเทศไทย 4.0 Digital Education (3/3) Workshop ภาคบ่าย วิทยากรทดสอบสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหาร โดยภารกิจแรกให้ส่งอีเมลไปยังอีเมลของวิทยากร  prachyanunn@gmail.com จากนั้นวิทยากรก็เริ่มเก็บอีเมลของทุกคนเพื่อเข้าสู่บทเรียน การเรียนรู้ในเรื่องของ Email, Group Email, Chat, Share, Virtual Team, และ Google Application กระบวนการทั้งหมดจะเป็นลักษณะของทำให้ผู้เข้ารับการพัฒนาเข้าใจถึงเทคโนโลยี Cloud มากยิ่งขึ้น Chat (ผู้เขียนร้างราจากการแชทใน gmail มานาน แต่ก็ง่าย ๆ สบาย ๆ ค่ะ มีผู้เข้ารับการพัฒนาพี่ ๆ หลายท่านไม่เคยใช้งาน อาจจะใช้เวลากันสักเล็กน้อย) Virtual Team การทำงานพร้อมกันบนออนไลน์ Workshop 1 : Word sheet Workshop 2 : PPT sheet จากกิจกรรมนี้ไป ผู้เขียนแบตโน๊ตบุคหมดเกลี้ยง ต้องอาศัยมือถือ ซึ่งก็โชคดีที่แค่มือถือก็สามารถทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี และ ขอบอกว่าเป็นกิจกรรมสุดล้ำที่ชอบสุด ๆ และคิดว่าเพื่อน ๆ พี่ ๆ ผู้เข้ารับการพัฒนาในห้องก็ชอบด้วยเช่นกัน จากเดิมที่เราต้องใช้โปรแกรม Photoshop แต่งรูปกันหลายชั่วโมง หรือทำกันเป็นวัน...

ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาสู่ประเทศไทย 4.0 Digital Education (2/3)

ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาสู่ประเทศไทย 4.0 Digital Education (2/3) ต่อจากภาคเช้าวิทยากรขึ้นสไลน์บรรยายใหม่ที่จะต่อเนื่องไปถึงภาคบ่ายค่ะ ประเด็นที่จะพูดคุยคือ Digital Education Digital Intelligence Digital Competency Cloud Computing Big Data Internet of Thing ประเด็นปัญหาของการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ ใช้งบประมาณไปในอินเทอร์เน็ต หมื่นกว่าล้านบาท ความเร็วเพียง 2 - 20 Mbps งบพัฒนาบุคลากร แสนกว่าล้าน ต่อไปการจัดสรรงบประมาณจะลงไปที่หน่วยใช้งานตรง จะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน จะมีการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น  สำหรับการเป็นผู้บริหารจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศมากมาย สิ่งสำคัญคือ Password (รหัสผ่าน)  แนวโน้มเทคโนโลยี 2018 ที่ผ่านมา นอกจากความฉลาดทางสมอง ความฉลาดทางอารมณ์แล้วนั้น ปัจจุบันสำคัญคือ ต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล DQ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการรักษาข้อมูลส่วนตัว การคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณที่ีดี ทักษาการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ เป็นต้น และอีกมากมาย มีการกำหนดทักษาด้านดิจิ...

ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาสู่ประเทศไทย 4.0 Digital Education (1/3)

ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาสู่ประเทศไทย 4.0 วิทยากรคือ รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ท่านรับราชการตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบัน ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย วิทยากรเกริ่นว่าช่วงเช้าขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย 4.0 ก่อน และช่วงบ่ายจะเป็นเวิร์คช้อปปฏิบัติการ (ท่านวิทยากรบุคลิกดูจะขลึม ๆ แต่พอได้เริ่มบรรยายแล้วสนุกมาก วิทยากรบรรยายด้วยน้ำเสียงฉะฉาน มีมุกแซวผู้เข้ารับการพัฒนา รวมถึงแซวเนื้อหาที่บรรยายเป็นระยะ ทำเอาบางช่วงบางตอนถึงกับหัวเราะงอหายเลยทีเดียว) และเริ่มด้วย ให้ดาวน์โหลดไฟล์การบรรยายวันนี้จาก QR code จากนั้น ให้เข้า Menti.com เพื่อทำแบบทดสอบและเช็คยอดแสดงผล Real time กับคำถาม 3 ข้อที่แสดงผลแตกต่างกัน มาจากหน่วยงานไหน / อายุการทำงาน / และความรู้สึกต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 (ขอ 3 คำ) เป็นอัตราส่วนวงกลม / กราฟแท่ง / และคำตอบปลายเปิดให้แสดงใล่กันขึ้นไป จากนั้นวิทยากรชวนพูดคุยไปเรื่อย ๆ ถึงข้อมูลที่แสดงว่าประเทศไทยยังคงล้าหลัง ไม่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที...